ใช้ Mac ให้คุ้ม ใช้ Mac ให้เร็ว ใช้ Mac ให้สนุก ที่นี่ มีคำตอบ
ตอนที่ 4 Applications
บน Mac มีแอพต่าง ๆ มาให้มากมาย ซึ่งก็พอใช้ได้ในชีวิตประจำวันของเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลาย วันนี้เรามาดูกันว่าแต่ละแอพมีอะไรและเอาไว้ทำอะไรบ้าง
note: ผมจะพูดถึงเฉพาะ App บน OS X นะครับ ไม่เอาแอพอื่น ๆ จาก Apple ที่โหลดมาเพิ่มเติม
Safari: เป็น Browser ไว้เปิดเว็บ (เหมือน ๆ Chrome, IE) ซึ่งความเร็วที่ได้แตกต่างกันไปตามรุ่น แต่ที่รู้ ๆ Safari 6.0 บน OS X Mountain Lion นั้น เร็วสวดยวดดดดดด
Mail: เป็นแอพไว้รับเมลล์จากหลาย ๆ ผู้ให้บริการ เช่น Hotmail, Gmail, iCloud, Yahoo! ซึ่งจะรองรับเทคโนโลยี POP3, IMAP (Hotmail มีแต่ POP3 ไม่มี IMAP)
Messages: เป็นแอพแชทกับ iMessage กับ Mac ด้วยกันหรือ iOS ก็ได้ โดย iMessage เพิ่งจะถูกเพิ่มเข้ามาใน OS X Mountain Lion แทนที่ iChat และ Messages ก็ยังคงมีความสามารถในการแชท Facebook ผ่าน Jabber ด้วย ลองดูตามนี้
Contacts: แอพเก็บรายชื่อผู้ติดต่อทั้งหมดของคุณไว้ (เดิมชื่อ Address Book เพิ่งถูกเปลี่ยนใน OS X Mountain Lion)
Calendar: แอพไว้บันทึกงาน event สำคัญต่าง ๆ ของคุณไว้ (เดิมชื่อ iCal เพิ่งถูกเปลี่ยนใน OS X Mountain Lion)
Reminders: แอพไว้บันทึกสิ่งที่ต้องทำ (To-dos) (มีเฉพาะ OS X Mountain Lion ขึ้นไป)
Notes: แอพไว้จดโน๊ต (มีเฉพาะ OS X Mountain Lion ขึ้นไป)
FaceTime: แอพไว้สำหรับคุย FaceTime กับ Mac ด้วยกันเอง หรือ iOS ก็ได้ (ถูก Built-in กับ Mac OS X Snow Leopard เฉพาะ Mac รุ่นที่ออกปี 2011 หรือใหม่กว่า และถูก Built-in เข้าในตัวระบบปฏิบัติการกับ OS X Lion)
Photo Booth: แอพถ่ายรูปเล่น ๆ สนุก ๆ (ผมคิดว่าหลายคนซื้อ Mac เพราะแอพนี้)
iTunes: ไว้เปิดฟังเพลงและ Sync กับอุปกรณ์ iOS ทั้งหลาย และยังมีร้านค้าเพลง iTunes Store ที่มีเพลงกว่า 20 ล้านเพลงให้เลือกซื้อหา
App Store: ไว้เลือกหาแอพบน Mac ได้อย่างง่าย ๆ (เหมือน App Store บน iOS) มีบน Mac OS X 10.6.6 Snow Leopard ขึ้นไป
Game Center: สำหรับการค้นหา Gamer ด้วยกัน ไว้แข่งประชันกัน มี Leatherboard ไว้ให้ดูเล่น ๆ ว่าใครชนะเกมอะไรบ้าง มีเฉพาะ OS X Mountain Lion ขึ้นไป
QuickTime Player: แอพเล่นไฟล์เพลง ไฟล์วีดีโอ (เปรียบได้กับ Windows Movie Player แต่เรื่องมากด้าน Format นิดนึง) แต่สามารถบันทึกเสียง หรือบันทึกวีดีโอผ่านกล้องหน้าได้ และหน้าจอเป็นวีดีโอได้ด้วย (เป็นการอัดวีดีโอขณะที่เรากำลังทำงานต่าง ๆ บนหน้าจอ)
Preview: ไว้เปิดไฟล์ PDF และรูปภาพ สามารถปรับแต่งแก้ไขได้นิดหน่อย
TextEdit: ไว้สร้างไฟล์ Rich Text หรือ Plain Text ก็ได้ (เหมือน Notepad กับ Wordpad บน Windows แต่ TextEdit เหมือนจะเน้นสร้าง Rich Text มากกว่า)
Calculator: เครื่องคิดเลข มีทั้งเครื่องคิดเลขแม่ค้า, เครื่องคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องคิดเลขแบบโปรแกรมเมอร์
Dictionary: ไว้ Search หาคำที่ต้องการ ไม่มี Plug-in ภาษาไทยติดตั้ง ต้องติดตั้ง ที่นี่ (ถ้าติดตั้งแล้วไม่ขึ้นลองไปเปิดในเมนู Dictionary -> Preferences ดูครับ)
Mission Control: ควบคุมภารกิจ ไว้ดูทุกหน้าต่างและ Spaces ทั้งหมดบนเครื่อง (มีเฉพาะ OS X Lion ขึ้นไป รุ่นก่อนหน้าจะเป็น Expose กับ Spaces)
Dashboard: เป็นที่อยู่ของ Widget ต่าง ๆ ซึ่ง Widget คือแอพตัวเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา ปฏิทิน Dictionary ซึ่ง Widget สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้
System Preferences: ศูนย์รวมการตั้งค่าต่าง ๆ บน OS X (เหมือน Control Panel ของ Windows)
Grapher: วาดกราฟทางคณิตศาสตร์
DVD Player: เล่น DVD (เล่น CD ไม่ได้นะครับ)
Time Machine: ไว้ Backup ข้อมูลบน Mac
Font Book: ศูนย์รวม Font ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Font ดั้งเดิมของระบบ หรือ Font ที่ติดตั้งเอง
Chess: เกมหมากรุก
Stickies: โน๊ตแปะ ไว้แปะกันลืม
Image Capture: ดึงรูปภาพออกมาจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง Scanner, กล้องดิจิตอล, SD Card, iPhone, iPad, iPod
VoiceOver Utility: เป็นแอพจัดการเกี่ยวกับ VoiceOver ซึ่งเป็นระบบช่วยเหลือคนพิการในการใช้ Mac
AirPort Utility: แอพจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ AirPort ของ Apple ทั้ง AirPort Express, AirPort Extreme และ Time Capsule
Migration Assistant: ย้ายข้อมูลจาก Mac ของคุณ ไปยัง Mac เครื่องอื่น หรือย้ายจาก PC, Mac เครื่องอื่น, Time Capsule มาไว้เครื่องคุณ
Terminal: ไว้ใช้คำสั่ง Command Line
Activity Monitor: ดูภาพรวมของระบบ ว่ามีอะไรกำลังทำงานอยู่ ใช้ CPU, RAM ไปเท่าไร และเหลือ CPU, RAM เท่าไร
Console: ดู Error Message ต่าง ๆ ที่แอพแจ้งออกมา เมื่อแสดงแล้ว จะยังไม่ลบทิ้ง จะเก็บไว้ที่ Console
Network Utility: ไว้ดูข้อมูลเกี่ยวกับ Network ต่าง ๆ โดยไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง Command Line
Keychain Access: เก็บรหัส ใบรับรองความปลอดภัย ฯลฯ
System Information: ดูรายละเอียด Hardware, Software ภายในเครื่อง
Automator: สร้าง Script อย่างง่ายโดยการลากวาง ๆ ทำให้สามารถทำได้เยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ Rename File เป็นกลุ่ม ๆ หรือจะใช้ย่อภาพทีละมาก ๆ ก็ได้
AppleScript Editor: ไว้จัดการ Apple Script ซึ่งผมก็ใช้ไม่เป็นหรอกครับ แหะ ๆ
Disk Utility: จัดการ Disk ทุกอย่างในเครื่อง ทั้ง Hard Disk, Flash Drive, CD, DVD ฯลฯ
BootCamp Assistant: จัดการแบ่ง Partition เพื่อลง Windows ได้ เพียงแค่คลิก ๆ
DigitalColor Meter: บอกรายละเอียดเรื่องสีของ Pixel ที่เราเอาเม้าส์ไปชี้
ColorSync Utility: (ขออภัย ไม่ทราบจริง ๆ ว่ามันคืออะไร ไว้ทำอะไร เข้าใจว่าสำหรับคนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์)
Grab: เป็นแอพถ่ายภาพหน้าจอ (แต่ผมใช้คีย์ลัด Command-Shift-3 ไว้ถ่ายทั้งหน้าจอ และ Command-Shift-4 ไว้ถ่ายเฉพาะจุด สามารถลากเลือกจุดได้ ส่วนกด Command-Shift-4 และกด Enter จะมีกล้องให้เลือกถ่ายเฉพาะหน้าต่าง)
Bluetooth File Exchange: แลกเปลี่ยนไฟล์ผ่าน Bluetooth
Audio MIDI Setup: (เช่นกัน ไม่ทราบว่าคืออะไร แต่เข้าใจว่าสำหรับคนที่ต้องทำงานด้านเสียง)
Java Preferences: เมนูตั้งค่า Java
RAID Utility: ไว้ต่างค่า Hard Disk RAID (คืออะไรลองไปหาในเว็บเองแล้วกันครับ ผมคงไม่พูด เพราะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปคงไม่ได้ใช้)
QuickTime Player 7: ไว้สำหรับผู้ที่ต้องใช้จริง ๆ (ซึ่งมีก็ได้ ไม่มีก็ไม่เสียหาย เพราะผู้ที่ต้องใช้จริง ๆ คือผู้ซื้อ QuickTime Pro มาแล้ว และเสียดายเงิน) เพราะ QuickTime X ออกมาตอน Mac OS X 10.6 สำหรับ Mac OS X 10.6 สามารถหาได้ในแผ่นติดตั้ง ส่วน OS X 10.7 Lion ขึ้นไป (หรือ 10.6 อยากจะดาวน์โหลดก็ได้) ที่นี่
ชุดโปรแกรม iLife ซึ่งจะแถมมากับ Mac ทุกเครื่องตั้งแต่แกะกล่อง
iPhoto: แอพจัดการรูป และมีความสามารถในการแต่งรูป เช่น Retouch, Crop, Auto Enhance ฯลฯ และมีความสามารถในการทำ Slideshow พร้อมธีมสวย ๆ ในไม่กี่คลิก และสามารถอัพโหลดรูปลง Facebook, Flickr ได้อย่างง่ายดาย
iMovie: แอพตัดต่อโฮมวีดีโออย่างง่าย ๆ (แต่ผมก็ทำงานได้หลายงานอยู่) เมื่อตัดต่อเสร็จสามารถ Export ไฟล์ออกมาได้ถึง 1080p (สำหรับ iMovie รุ่นใหม่ ๆ นะครับ รุ่นเก่ากว่านี้ผมไม่แน่ใจ)
GarageBand: แอพทำเพลงอย่างง่าย ๆ ความสามารถมากพอตัว สามารถตัดริงโทนได้ด้วย
iWeb: ไว้ทำเว็บอย่างง่าย ๆ
iDVD: ไว้ทำ DVD อย่างง่าย ๆ พร้อม Template หลากหลายรูปแบบ
note: iWeb กับ iDVD จะไม่มีให้กับเครื่องที่มาพร้อมกับ OS X Mountain Lion ขึ้นไป
เท่านี้ล่ะครับ กับการอธิบายเกี่ยวกับแอพแต่ละตัวอย่างสั้น ๆ