Cyberbullying ภัยคุกคามในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ครุ่งเรือง

ทุกวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า โซเชียลเน็ตเวิร์คถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อชีวิตเราเป็นอย่างมาก เราสามารถแชร์เรื่องราวของเราให้ใคร ๆ รู้ก็ได้ แล้วก็ติดตามคนที่เราสนใจได้เช่นกัน ทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารในทุกวันนี้ไวขึ้นมาก แต่ผลดีก็มักจะมีผลเสียตามมาเสมอหากเราไม่รู้จักการป้องกัน

บทความนี้ถูกเขียนขึ้น เนื่องจากเป็นการบ้านของ YWC 15 สาขาคอนเทนต์

mobile-phone-1917737_1920.jpg
ภาพจาก https://pixabay.com/en/mobile-phone-smartphone-keyboard-1917737/ (CC0 Creative Commons)

ในอดีต การติดต่อสื่อสารของมนุษย์มักจะเป็นการคุยกันแบบคนต่อคน หรือคุยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผ่านอีเมล, MSN, Skype ฯลฯ ซึ่งเรามักจะเจอการหลอกลวงทางไซเบอร์เป็นประจำ ที่เห็นในข่าวบ่อย ๆ อย่างเช่นการหลอกล่อผ่านช่องทาง MSN ไปกระทำชำเราในที่ไกล ๆ แต่ปัจจุบันการหลอกล่อในลักษณะดังกล่าวนั้นเริ่มน้อยลง เนื่องจากคนเริ่มรู้ทันภัยดังกล่าวแล้ว แต่กับ cyberbullying จะยังไม่ใช่แบบนั้น

ในสังคม หากเราไม่พอใจใครสักคน การจะป่าวประกาศสิ่งที่ไม่ดีของคนเหล่านั้นเพื่อทำให้เขาถูกแบนจากสังคมนั้นได้ จะมี “สื่อ” เป็นตัวกลาง จะเห็นได้ว่าผู้มีอำนาจในสังคมอดีต จะเป็นสื่อใหญ่ ๆ ซึ่งการเป็นสื่อนั้นต้องมีจรรยาบรรณ ต้องมีใบอนุญาต มีกระบวนการกำกับดูแลตามกฎหมาย ดังนั้นการคุกคามผ่านทางสื่อจึงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก

ยุคปัจจุบันคือยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์ค ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ เรามีอิสระเสรีในการโพสต์หรือแชร์ การที่ใครสักคนโพสต์เรื่องอะไรสักเรื่อง แล้วปล่อยให้แชร์ ก็จะมีคนแชร์แล้วแชร์กันต่อไปเรื่อย ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ แพร่สะพัดไปทั่วโซเชียลเน็ตเวิร์คได้อย่างง่ายดายราวกับการแพร่กระจายของไวรัส การจะให้ร้ายใครสักคนก็เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นการคุกคามผู้อื่นทางสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะโดยการใช้ความลับ ความเท็จ จึงเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายในยุคปัจจุบัน

ปัญหาที่มักจะพบในกรณี cyberbullying เช่น

  • การถ่ายภาพบุคคลในรถไฟฟ้า อ้างว่ามีกล้องซ่อนอยู่ใต้รองเท้าเพื่อแอบถ่ายใต้กระโปรงผู้หญิง ซึ่งผู้ที่ถูกถ่ายภาพมาไม่ได้กระทำสิ่งนั้นจริง ๆ
  • การถ่ายภาพคนขับแท็กซี่ และอ้างเหตุการณ์อ้างว่าแท็กซี่ใช้ยาทำให้หลับผ่านแอร์โดยที่ตัวผู้ขับรถกินยาถอนพิษเข้าไปก่อน
  • การใช้รูปบุคคลอื่นเข้าไปซื้อหรือขายสินค้าออนไลน์ และโกงเหยื่อ
  • การแบล็คเมล์ด้วยการใช้รูปถ่ายหรือความลับส่วนตัวต่าง ๆ
  • การเหยียดเชื้อชาติ, ศาสนา, สีผิว, ลักษณะทางร่างกาย และการแบ่งแยกและสร้างความเกลียดชังต่าง ๆ (ในอังกฤษเตรียมจัดการภัยเหล่านี้ในลักษณะที่เหมือนกับอาชญากรรมในโลกแห่งความจริงแล้ว )

ตัวอย่างปัญหาเหล่านี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว cyberbullying เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ตลอดเวลา โดยเมื่อช่วงกลางปี Pew Research Center ได้รายงานปัญหา จากผู้ที่ให้การสำรวจ 4,248 คน และพบว่า 41% ของผู้ให้การสำรวจถูกคุกคามออนไลน์ ซึ่งสูงกว่าปี 2014 ที่ 35%

personal-2923048_1920.jpg
ภาพจาก https://pixabay.com/en/mobile-phone-smartphone-keyboard-1917737/ (CC0 Creative Commons)

ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำทาง cyberbullying ชื่อเสียเหล่านี้สามารถส่งผลถึงหน้าที่การงาน ไปจนถึงฐานะทางสังคมได้ เพราะด้วยการที่คนเห็นข้อมูลแล้วแชร์ทันทีทำให้ข้อมูลแพร่กระจายไปไวกว่ามาก เพราะคอนเทนต์เหล่านี้มาเป็นรูปแบบการประณามตรง ๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคนดังอยู่แล้ว ในขณะที่คอนเทนต์ส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบการเตือนภัย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตามคนก็แชร์ไปได้โดยไม่คิดมาก

แม้ว่าในความคิดของเราแล้ว เราจะสามารถแก้ปัญหา cyberbullying ได้ โดยการใช้กฎระเบียบบางอย่าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องพิจารณาไม่แพ้ไปกับ cyberbullying คือ “เสรีภาพในการแสดงความเห็น” ที่จะต้องหาจุดสมดุลในการออกกฎควบคุมที่ไม่ไปรุกรานเสรีภาพ เพราะว่าหากเราปล่อยไปในอนาคตกฎเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ เพื่อการโจมตีทางการเมือง, ศาสนา และอื่น ๆ โดยการใช้ cyberbullying เข้าอ้าง ซึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม EFF (Electronic Frontier Foundation) ก็ได้กล่าวว่ากฎหมายเรื่อง cyberbullying ในวอชิงตันนั้นไม่ได้แก้ปัญหาแต่กลับเป็นการควบคุมเสรีภาพในโลกออนไลน์

ในฐานะที่เราเป็นประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต สิ่งที่ควรจะทำในการใช้งานเพื่อไม่ให้เราไปเป็นส่วนหนึ่งของการ cyberbullying หรือไปคุกคามคนอื่น คือการอ่าน คิด และไตร่ตรองก่อนการแชร์ และอย่าใช้ความเกลียดชัง หรืออคติเข้าร่วมในการพิจารณา ยิ่งหากเรามีผู้ติดตามเยอะและมีความน่าเชื่อถือสูง เราจะยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น และอย่ารู้สึกอายหรือเสียหน้าถ้าคนอื่นบอกว่าสิ่งที่เราแชร์นั้นไม่ถูก หรือมีการทำความเข้าใจไปแล้ว และให้ข้อมูลที่ถูกต้องมา เราก็ควรจะรับไว้พิจารณาด้วย

Advertisement
Cyberbullying ภัยคุกคามในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ครุ่งเรือง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s