รถไฟญี่ปุ่น ตอนที่ 5: รถไฟกับทางวิ่ง เป็นของคนละบริษัทก็ได้

บทความรถไฟญี่ปุ่นตอนที่ 5 ขอเสนอบริการวิ่งต่างเขต ที่รถไฟต่างบริษัทวิ่งเข้ามาต่างเขต ทำไมเขาถึงมีรถไฟคนละบริษัทข้ามมาล่ะ แล้วจะขึ้นยังไง

ปัญหาของรถไฟญี่ปุ่นอย่างหนึ่งคือ ด้วยระยะทางที่ยาวมาก ๆ และในหลาย ๆ ครั้งรถไฟอาจจะเคยสุดแค่ที่หนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็มีบริษัทอื่นมาสร้างทางรถไฟต่อจากบริษัทเดิม ซึ่งเป็นความไม่สะดวกของผู้ใช้ที่จะต้องนั่งรถไฟแล้วต้องไปต่อรถไฟ ญี่ปุ่นก็เลยมีบริการ Through Service คือรถไฟกับทางวิ่งไม่จำเป็นต้องเป็นของบริษัทเดียวกัน สามารถวิ่งต่อกันไปได้เลย และแต่ละสายก็จะมีจุดเชื่อมต่อเป็นสถานีตรงกลางซึ่งอยู่ระหว่างสองสายด้วย

37123796865_765944d4d4_o.jpg
รถไฟของ Kintetsu (สีส้ม) กับรถไฟของ Osaka Subway (สีเขียว) จอดที่สถานี Ikoma บนสาย Keihanna ของ Kintetsu

ยกตัวอย่าง Through Service แถบคันไซ

  1. รถไฟ Shinkansen ของ JR Central ก็วิ่งเข้ามาใน Sanyo Shinkansen ซึ่งเป็นเขตของ JR West ได้ เชื่อมต่อที่ Shin-Osaka
  2. Kintetsu Keihanna Line และ Osaka Subway Chuo Line เชื่อมต่อที่ Nagata
  3. Kintetsu Nara Line และ Hanshin Namba Line เชื่อมต่อที่ Osaka-Namba
  4. Hankyu (สายไป Kita-Senri) และ Osaka Subway Sakaisuji Line เชื่อมต่อที่ Tenjinbashisuji 6-chome

จริง ๆ แล้ว ถ้าสังเกต สถานีเชื่อมต่อกลาง รถไฟจะหยุดนานกว่าปกติ เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนตัวคนขับ คือคนขับจะรับผิดชอบเฉพาะเส้นทางของตัวเองเท่านั้น เช่น คนขับของ Kintetsu ก็จะรับผิดชอบเฉพาะเส้นทาง Kintetsu แม้จะใช้รถไฟร่วมกันก็ตาม

ส่วนจะดูว่าเราต้องขึ้นคันไหน ให้มองซะว่า “มันก็คือรถไฟเหมือนกัน” ดังนั้นไม่ต้องสนใจว่ารถไฟบริษัทอะไร สนใจแค่ว่ารถไฟขบวนนี้วิ่งไปทางไหน สุดที่ไหนก็พอแล้วครับ ซึ่งหน้าที่เราต้องทำก็คือดูป้ายและจอ ก็จะทราบเส้นทางที่รถไฟขบวนนี้จะเดินทางไปครับ

36731733625_86827fb8fe_o.jpg
ตู้จำหน่ายตั๋วของ Kintetsu (ป้ายสีฟ้า) และ Hanshin (ป้ายสีส้ม) ในสถานี Osaka-Namba สถานีร่วมของ Kintetsu Nara Line และ Hanshin Namba Line

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อขึ้นรถไฟก็มีเพียงแค่ “ตั๋ว” ครับ คือถ้าจำเป็นต้องซื้อตั๋วเดินทาง ถ้าเป็นสถานีที่ไม่ใช่สถานีร่วมจะไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าคุณขึ้นรถไฟที่สถานีร่วม จะต้องซื้อตั๋วให้ถูกบริษัท เช่นถ้าจะไปในเส้นทางของบริษัท Kintetsu ก็ต้องซื้อตั๋วที่เครื่องของ Kintetsu รวมถึง Fare Adjustment Machine ด้วย คือถ้ามาจากเส้นทางของ Kintetsu ก็ต้อง Fare Adjustment ที่เครื่องของ Kintetsu เท่านั้น

แต่ว่าปัญหาทั้งหมดนี้จะหายไป ถ้าคุณเลือกใช้ IC Card หรือ PASS หลาย ๆ ประเภทครับ

23815815248_52060c20c1_o.jpg
สถานี Kansai Airport มีผู้ให้บริการสองเจ้าคือ Nankai และ JR West (เนื่องจากไม่มีรูปสถานี Rinku Town จึงใช้รูปจาก Airport แทน)

ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือสถานีที่ใช้พื้นที่ร่วมกันเลย เช่น Rinku Town เป็นสถานีที่ JR West และ Nankai ใช้พื้นที่ร่วมกัน โดยถ้าไป Kansai Airport ทั้งสองบริษัทจะใช้ทางวิ่งร่วมกัน แต่ทางเข้าเมือง Nankai กับ JR จะแยกทางกัน ซึ่งสถานีที่อยู่ตรงกลางอย่าง Rinku Town คือจะแยกทางวิ่ง แต่ใช้สถานีร่วมกัน เกทเดียวกัน ต่างกันแค่ “ชานชาลา” เท่านั้น เพราะรถไฟทั้งสองบริษัทจะวิ่งมาจอดคนละชานชาลา

แล้วจะซื้อตั๋วยังไง? คำตอบคือ JR West และ Nankai มีตู้ซื้อตั๋วแยกกัน ถ้าต้องการไป Airport จะเลือกเจ้าไหนก็ราคาเท่ากัน นั่งให้ถูกฝั่งก็พอ แต่จะเข้าเมืองก็ดูหน่อยละกันว่าทางที่จะไปอยู่ใกล้กับสถานีของสายไหน ก็เลือกรถไฟบริษัทนั้น แล้วก็ขึ้นให้ถูกขบวนด้วยครับ

เช่นเดิม จะมีตอนหน้าถ้าไม่ขี้เกียจนะครับ ._____.

อ่านตอนเก่า

Advertisement
รถไฟญี่ปุ่น ตอนที่ 5: รถไฟกับทางวิ่ง เป็นของคนละบริษัทก็ได้

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s