ใช้ Mac ให้คุ้ม ใช้ Mac ให้เร็ว ใช้ Mac ให้สนุก ที่นี่ มีคำตอบ
ตอนที่ 5 The Finder
Finder คือแอพที่ไว้ใช้จัดการไฟล์บน Mac ของเรา (เปรียบได้กับ Windows Explorer หรือ File Explorer บน Windows 8) จึงถือเป็นโปรแกรมสำคัญอันดับต้น ๆ ของ Mac เลยก็ว่าได้ ในครั้งนี้ผมคงไม่พูดถึงการจัดการไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นลบ ย้าย ฯลฯ ถ้าอยากดูไปดูตอนก่อนหน้านี้ได้ ที่นี่ ครับ
เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
ผมจะลองแยกส่วนประกอบออกเป็นส่วน ๆ นะครับ
1. Sidebar ไว้ข้ามไปยังไฟล์/โฟลเดอร์/ไดรฟ์เก็บข้อมูลที่สำคัญ ๆ
2. Toolbar
3. ส่วนการแสดงไฟล์
4. Status Bar ซึ่ง OS X บางรุ่นจะไม่เปิด Status Bar มาแต่แรก ถ้าเปิดต้องกดคีย์ Command-/ (คอมมานนด์ กับ เครื่องหมายทับ ที่อยู่ใต้เครื่องหมายคำถาม)
Sidebar
Favourite แสดงโฟลเดอร์สำคัญที่เมื่อกดทีเดียวก็ไปถึง ถ้าต้องการให้โฟลเดอร์ไหนมาอยู่ที่ Sidebar นี้ สามารถลากมันมาวางใน Sidebar เลย หากต้องการลบโฟลเดอร์ใดออก ให้กด Command แล้วลากออกไปจาก Sidebar ส่วน Devices คืออุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกที่เชื่อมต่อกับแมคของเรา ดังนั้น เมื่อเสียบอุปกรณ์ใด ๆ (เช่น External Harddisk, Flash Drive, ฯลฯ) จะขึ้นในส่วนนี้ เช่นกัน
เครื่องมือต่าง ๆ ใน Finder
ไล่ไปตามตัวเลยครับ
1. ปุ่มย้อนกลับ – ไปข้างหน้า คล้าย ๆ กับการเลื่อนซ้าย – ขวาของหน้าเว็บ
2. ปุ่ม 4 ปุ่ม เป็นปุ่มเลือกดู View ได้หลาย ๆ รูปแบบ คือ
icon
list
column
cover flow (แบบเดียวกับเลือกดูปกอัลบั้มบน iTunes) มีบน OS X 10.5 ขึ้นไป
และหากต้องการให้แบบใดแบบหนึ่งขึ้นมา ให้ไปที่ View -> Show View Options หรือกดคีย์ลัด Command-J ก็จะขึ้นหน้าต่างมาประมาณนี้
ต้องเลือกก่อนว่าจะให้โฟลเดอร์นั้นอยู่ใน view ใด (ยกเว้น Desktop ที่บังคับ icon view) ให้ติ๊กว่า Always open in … view แล้วกด Use as Defaults
3. ไอคอนฟันเฟือง คลิกออกมาจะได้เมนูแบบนี้ออกมา ผมคงอธิบายเฉพาะส่วนนะครับ
Clean Up By: การจัดลำดับแบบไม่ถาวรตาม ชื่อ (Name) ชนิดของไฟล์ (Kind) วันที่ปรับปรุงล่าสุด (Date Modified) วันที่สร้าง (Date Created) ขนาด (Size) ป้ายสี (Labal) ซึ่งเปรียบได้กับการ Sort By บน Windows
Arrange By: แยกประเภทไฟล์ตาม ชื่อ (Name) ชนิดของไฟล์ (Kind) แอพที่ใช้เปิด (Application) วันที่เปิด (Date Last Opened) วันที่เพิ่ม (Date Added) วันที่เปลี่ยนแปลง (Date Modified) วันที่สร้าง (Date Created) ขนาด (Size) ป้ายสี (Labal) และไม่ต้องแยกหมวดหมู่ (None)
Show View Options: เหมือนกับการกด View -> Show View Options หรือกด Command-J ครับ
Label: ป้ายสี คือการใส่สีเพื่อแบ่งแยกประเภทไฟล์ ว่าเป็นไฟล์สำคัญระดับใด (เป็นสัญลักษณ์เตือนให้เรารู้เอง)
ซ้าย ไม่ได้ใส่ Label ขวา ใส่ Label
4. ไอคอนต่อจากไอคอนฟันเฟือง จะเป็นเมนู Arrange By เช่นเดียวกับการกดไอคอนฟันเฟือง -> Arrange By นั่นล่ะครับ
5. Share (OS X 10.8 ขึ้นไป) จะมีเมนูการแชร์ต่าง ๆ ตามนี้ (อาจมีเพิ่มในอนาคต)
6. Search: ค้นหาข้อมูล
ตั้งค่า Toolbar
แน่นอนว่า Toolbar นั้นปรับเปลี่ยนได้ตามใจเราต้องการ หากต้องการเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้น ๆ ผ่าน Toolbar ก็ลากไปไว้บน Toolbar ได้เลย หากต้องการเอาอะไรออก แค่กด Command ค้างไว้และลากออก ก็จบ หากต้องการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยน เพียงแค่คลิกขวา จะเจอเมนูดังนี้
สามารถตั้งได้ว่าต้องการเอาเฉพาะ icon หรือ icon และชื่อเครื่องมือ หรือจะเอาชื่อเครื่องมืออย่างเดียว หรือจะซ่อม Toolbar ก็ย่อมได้ หากต้องการปรับแต่ง Toolbar เพียงคลิก Customize Toolbar… ก็จะได้เมนู ดังนี้
หากต้องการเมนูใด เพียงลากเมนูนั้น ๆ ขึ้นไปบน Toolbar ก็จะได้เมนูนั้นดังใจหวัง และคลิก Done เมื่อเสร็จ
ตั้งค่า Finder
การตั้งค่าต่าง ๆ ของ Finder สามารถเรียกขึ้นมาได้โดยไปที่เมนู Finder -> Preferences หรือกด Command-, (คอมมานด์ กับ ลูกน้ำ)
Show these items on the desktop – แสดงสิ่งเหล่านี้บน Desktop
– Hard disks – ฮาร์ดดิสก์
– External disks – ดิสก์ภายนอก (เช่น External Hard disk, Flash Drive)
– CDs, DVDs and iPods
– Connected servers – เซิร์ฟเวอร์ที่ติดต่อกัน
New Finder windows show – เมื่อเปิดหน้าต่าง Finder ใหม่ ให้แสดหน้าโฟลเดอร์…
Always open folders in a new window – เปิดโฟลเดอร์ในหน้าต่างใหม่ทุกครั้ง
String-loaded folders and windows – เมื่อลากไฟล์หรือโฟลเดอร์ไปยังโฟลเดอร์ใด ๆ ก็ตาม หากเปิดฟังก์ชันนี้ไว้ หน้าต่างโฟลเดอร์จะเปิดออกมา ตามระยะเวลาที่กำหนด
แก้ชื่อสีของ Label ต่าง ๆ
แก้การแสดงผลใน Sidebar ของ Finder
Show all filename extensions – แสดงนามสกุลไฟล์ทุกไฟล์ เพราะปกติ Finder จะซ่อนนามสกุลบางไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพ, PDF
Show warning before changing an extension – เตือนก่อนแก้นามสกุลไฟล์
Show warning before emptying the Trash – เตือนก่อนล้างถังขยะ
Empty Trash securely – การล้างถังขยะอย่างปลอดภัย
Get Info File and Folder
Get Info เป็นการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้น ๆ โดยการคลิกขวา -> Get Info หรือกด Command-I บนคีย์บอร์ด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– บนสุด มี ชื่อ – ขนาด – เวลาที่เปิดล่าสุด
– Spotlight Comments – ไว้ใส่ Keyword สำคัญ ๆ เกี่ยวกับไฟล์ (ที่ไม่สามารถยัดใส่ชื่อไฟล์ได้) เพื่อให้ Spotlight สามารถค้นหาไฟล์นี้เจอโดยใช้คีย์เวอร์ดดังกล่าว
– General – แบ่งเป็น
— Kind – ชนิด/ประเภทของไฟล์
— Size – ขนาดของไฟล์
— Where – ที่อยู่
— Created – สร้างเมื่อ
— Modified – ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ
— Label – ป้ายสีบอกความสำคัญ
— Share Folder – อนุญาติให้แบ่งปันโฟลเดอร์นี้
— Locked – ล็อค ไม่ให้โฟลเดอร์นี้เปลี่ยนแปลง (ถ้าลบจะมีคำเตือน)
– More Info – รายละเอียดอื่น ๆ
– Name & Extension – ชื่อและนามสกุล โดยปกติชื่อไฟล์มักเปลี่ยนจากไฟล์โดยตรงโดยคลิกที่ไฟล์และกด Enter แต่หากไฟล์นั้นถูกซ่อนนามสกุลไว้ และต้องการเปลี่ยนนามสกุลไฟล์นั้น ต้องเปลี่ยนที่นี่
– Preview – แสดงไฟล์นั้นคร่าว ๆ
– Sharing & Permissions – การแชร์และการเข้าถึงไฟล์
เท่านี้ล่ะครับ สำหรับ Finder ที่เป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งของ Mac ทุกเครื่อง พบกันตอนต่อไปครับ